ข่าวออนไลน์
15วันผู้ป่วยในประเทศ0ราย ติดจากตปท.2ราย

15วันผู้ป่วยในประเทศ0ราย ติดจากตปท.2ราย

15วันผู้ป่วยในประเทศ0ราย ติดจากตปท.2ราย

9 มิ.ย. ติดเชื้อในประเทศ 0 ราย ติดกัน 15 วัน - พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 2 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,121 ราย มีผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วรวม 2,973 ราย และยังมีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 90 ราย ขณะที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม


วันนี้( 9 มิ.ย.63) พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์ในประเทศไทย ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 2 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,121 ราย มีผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วรวม 2,973 ราย และยังมีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 90 ราย ขณะที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมคงเดิมที่ 58 ราย


พญ.พรรณประภากล่าวว่า ตั้งแต่ ก.พ. - 9 มิ.ย. พบผู้ป่วยในสถานกักกันของรัฐรวม 184 ราย อัตราป่วยตามประเทศต้นทาง ประเทศที่พบมากที่สุด คือ คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ส่วนที่ไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยนาน 15 วัน ถือว่าปลอดเชื้อหรือยัง ขอตอบในทางหลักการระบาดวิทยาว่า ปกติจะใช้ 2 เท่าของระยะเวลาฟักตัวที่ยาวที่สุดของโรค จึงปลอดภัย โดยโควิด-19 ระยะเวลาฟักตัวอยู่ที่ 14 วัน ดังนั้น 2 เท่า คือ 28 วัน หากไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ไปแล้ว 28 วัน จึงถือว่าเป็นการเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อซ้ำใหม่ อย่างไรก็ตาม หลายประเทศมีการระบาดระลอกใหม่เป็นระลอกที่ 2 เป็นการะบาดแบบกลุ่มและส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อย่างผู้ป่วยในสถานกักกันของรัฐส่วนใหญ่ก็ไม่มีอาการเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องเฝ้าระวัง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ ต้องสวมหน้ากากอนามย ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่างทางสังคม


พญ.พรรณประภากล่าวว่า สถานการณ์ทั่วโลก มีเกือบ 7.2 ล้านราย เพิ่มขึ้น 1 แสนราย เสียชีวิตเพิ่ม 2,502 ราย รวมกว่า 4.08 แสนราย ประเทศไทยอันดับตกลงมาจาก 81 มาอันดับ 83 ส่วนประเด็นที่น่าสนใจของต่างประเทศ คือ นิวซีแลนด์ ซึ่งมีมาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดสุดในโลก ไม่ให้คนออกจากบ้าน ให้ออกจากบ้านเมื่อจำเป็น ตอนนี้ประกาศยุติมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม หลังไม่มีผู้ติดเชื้อ และผู้ติดเชื้อคนสุดท้ายรักษาหายแล้ว ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 17 วัน


พญ.พรรณประภากล่าวว่า ที่ผ่านมามีการทำงานที่บ้าน แต่หลังผ่อนคลาย 3 ระยะ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ก็เริ่มให้กลับมาทำงานบริษัทมากขึ้น ที่จะเจอปัญหา คือ การรับประทานอาหารกลางวัน ที่อาจมีความแออัด จึงขอให้สวมหน้ากากอนามัย พกแอลกอฮอล์เจลติดไปด้วย เว้นระยะห่างทางสังคม แต่อาจทำได้ยาก จากการที่คนไปทำงานมากขึ้น ศูนย์อาหารคนก็มากขึ้น ดังนั้น หากเห็นคนเยอะแล้ว อาจซื้อแล้วกลับมาทานที่ทำงาน หรือพกมาทานเองจากที่บ้าน ผู้ประกอบการอาจปรับระยะเวลาในการลงมารับประทาน เป็นเหลื่อมเวลา เช่น 11 โมง 11 โมงครึ่ง เที่ยงครึ่ง และบ่ายโมง ซึ่งร้านก็ยังเปิดอยู่ ก็จะช่วยลดความหนาแน่นได้

Powered by Froala Editor

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH